Saturday, September 26, 2009

เสนห์ผ้าทอไทย ตอนที่ 3 ผ้าทอพื้นเมือง น่าน "ผ้าทอลายน้ำไหล"


ผ้าทอเมืองน่าน
ผ้าทอลายน้ำไหลสันนิฐานว่าการออกแบบลายผ้าทอชาวไทยลื้อ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากชาวไทยลื้อในดินแดน สิบสองปันนา ประเทศจีน อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2379 โดยตั้งถิ่นฐานที่บ้านล้าหลวง อ.เชียงคำจ.พะเยา และตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านห
นองบัว บ้านต้นฮ่าง ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน และบ้านดอนมูล อ.ท่าวังผา จ.น่าน โดย การนำของเจ้าหลวงเมืองล้า ชาวไทยลื้อ มีภาษาพูด และประเพณีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง และรักษาสืบทอดจนถึงปัจจุบันนี้


ประวัติดังกล่าวได้ปรากฎในจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ ซึ่งเป็นฝีมือช่างสกุลลื้อ ที่ได้วาดลวดลายของผ้าซิ่นของผู้หญิง ในรูปเป็นลายผ้าซิ่นทั้งหมดด้วยผ้าทอลายน้ำไหลที่ดัดแปลงมาจากผ้าลายชาวลื้อ สมัยแรกๆ นิยมใช้ไหมเงิน และไหมคำ ด้านลายผ้าตรงส่วนที่เป็นหยักของกระแสน้ำ จากนั้นใช้ลายมุกรูปสัตว์แทรกเพื่อแสดงว่าผู้คิดลายน้ำไหล ไม่ได้ลอกแบบ ของชาวลื้อมาทั้งหมด ผ้าทอลายน้ำไหลไทยลื้อเริ่มทอกันครั้งแรกที่บ้านหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน เป็นศิลปะการทอผ้า ด้วยมือ สาเหตุที่เรียกผ้าทอลายน้ำไหล เพราะลวดลายที่ทอออกมามีลักษณะเหมือนลายน้ำไหล จึงเรียกว่าผ้าลายน้ำไหล แต่ปัจจุบันได้คิดพลิกแพลงลวดลายต่างๆ เพิ่มขึ้นมาอีกมากมาย และได้ขยายพื้นที่การทอผ้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ยังคงเรียกชื่อเดิมว่าผ้าลายน้ำไหล ผ้าทอลายน้ำไหลจังหวัดน่าน ปัจจุบันมีการทอลวดลายต่างๆ มากมาย เช่น ลายน้ำไหล มีลักษณะเป็นคลื่นเหมือนขั้นบันไดมองดูเหมือนสายน้ำกำลังไหลเป็นทางยาว นับว่าเป็นลายต้นแบบ และดั้งเดิม จึงเรียกลายน้ำไหล


สตรีบ้านไผ่งาม มีอาชีพทอผ้า ซึ่งส่วนใหญ่จะทอด้วยกี่พื้นเมืองและจะนิยมทอผ้าขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือน โดยส่วนใหญ่จะเป็นผ้าทอลายน้ำไหลแบบโบราณ ในปี 2529 กรมการพัฒนาชุมชนได้มารวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มทอผ้า มีสมาชิก 15 คนและสนับสนุนกี่กระตุกพร้อมกับอุปกรณ์การทอผ้
สตรีบ้านไผ่งาม มีอาชีพทอผ้า ซึ่งส่วนใหญ่จะทอด้วยกี่พื้นเมืองและจะนิยมทอผ้าขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือน โดยส่วนใหญ่จะเป็นผ้าทอลายน้ำไหลแบบโบราณ ในปี 2529




ข้อมูลจาก Blog ของคุณ จักรพงษ์ คำบุญเรือง ได้ให้ข้อมูลมากมายและกล่าวไว้ว่า


"การทอผ้าลายน้ำไหลของกลุ่มจะทอจากผ้าฝ้าย แต่ถ้าเป็นผ้าที่มีลวดลายและใช้สีหลายสีก็จะใช้เวลาทอหลายวัน แต่ถ้าเป็นลายน้ำไหลธรรมดาไม่ใช้สีมากนัก จะทอประมาณสี่ถึงห้าวันก็เสร็จ ราคาก็จากสี่ร้อยขึ้นไปถึงพัน แต่ถ้าเป็นผ้าไหมราคาก็จะแพง"นอกจากการทอผ้าลายน้ำไหลแล้ว ทางกลุ่มยังมีการทอผ้าซิ่นปล้องซึ่งเป็นผ้าที่ชาวบ้านนิยมทอขึ้นเพื่อสวมใส่ราคาไม่แพงอีกด้วย ราคาตกผืนละ 350 บาทและที่สำคัญการทอผ้าซิ่นปล้องใช้เวลาทอไม่นานประมาณ 2 วันก็เสร็จ


ความสำเร็จของกลุ่มทอผ้าบ้านไผ่งาม นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์การทอผ้าลายน้ำไหลที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวน่านแล้ว ยังเป็นหนทางในการสร้างรายได้และอาชีพให้กับชาวบ้านอีกด้วย แต่ละเดือนสมาชิกของกลุ่มทอผ้าสามารถทอผ้าได้ถึงคนละ 15 ชิ้นมีรายได้จากการจำหน่ายคนละไม่น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือนทีเดียว




จะเห็นว่า ผ้าทอมือของชาวเมืองน่านเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีลักษณะพิเศษ แตกต่างจากผ้าทอมือกลุ่มอื่น ๆ จึงเป็นงานหัตถกรรมที่น่าศึกษา ทั้งในด้านรูปแบบของผ้าและกรรมวิธีในการทอ หากใครที่มีโอกาสเดินทางไปเยือนเมืองน่านลองแวะเข้าไปชมการทอผ้าด้วยมืออันเป็นภูมิปัญญาของชาวน่านดู บางทีอาจจะรู้ว่าในเมืองเล็ก ๆ ที่ธรรมดา ทว่าไม่ธรรมดาจริง ๆ"
เห็นแล้วเป็นความพยายามมากหลายจริงๆ เห็นอย่างนี้แล้ว คงเข้าใจว่าทำไมถึงตั้งราคา เท่านั้น




ซึ่งเป็นข้อมูลที่เห็นด้วยอย่างมาก




Official Website: http://www.thaitambon.com/ProvincialStarOTOP/PSO-LP14/NanPSO3L.htm
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=free4u&month=06-01-2009&group=1&gblog=33


ตัวอย่างผ้าทอลายต่างๆ จากชุมชน
กลุ่มทอผ้าไทลื้อศิลาแลง
103 หมู่5 ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120
นางเครือวัลย์ หาญยุทธ (054 792178)
กลุ่มทอผ้าบ้านขึ่งใต้
105 หมู่ 6 ตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน 55110
()
กลุ่มทอผ้าบ้านมงคล
104 หมู่ 1 ตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน 55110
นางอรพิน สิทธิวงศ์ (0-5478-1966)
กลุ่มผ้าปักบ้านแพะ
1 หมู่3 ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน 55110 (054 779080)

เสนห์ผ้าทอไทย ตอนที่ 2 ผ้าทอพื้นเมือง สุรินทร์ "ผ้าซิ่นไทย หรือ อันลุยซีม"



ผ้าทอพื้นเมืองอีสานในจังหวัดสุรินทร์

ที่จังหวัดสุรินทร์มีหมู่บ้านที่ทอผ้าตามประเพณีสืบทอดต่อมาจนปัจจุบันจะเป็นคนไทยเชื้อชายเขมรและไทยอีสาน มีแหล่งสำคัญ 5 แห่ง อยู่ในเขตอำเภอเมือง 4 แห่ง คือที่บ้านเขวาสินรินทร์ หมู่ 2 ตำบลเขวาบ้านสวายและบ้านนาแห้ว หมู่ 7 ตำบลสวาย และบ้านจันรม หมู่ 4 ตำบลตาอ๊อง อำเภอเมือง และในเขตอำเภอศีขรภูมิ 1 แห่ง คือที่บ้านจารพัท หมู่ 1 ตำบลจารพัท จากการสำรวจพบว่ามีการทอผ้าไหมเป็นพื้นเพื่อที่จะใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ถวายพระในการทำบุญ ผ้าที่นิยมใช้ถวายพระมักจะทอผ้าขาวเพื่อว่าจะได้นำไปย้อมฝางตัดทำสบง จีวรได้ และช่างนิยมที่จะทอในสิ่งที่ตนเองสนใจและสามารถทำได้ เช่นบางคนทอเฉพาะตัวซิ่น บางคนทอเฉพาะส่วนเชิงหรือตีนซิ่น และผ้าซิ่นพบว่ามีการพัฒนาจากต้นแบบซึ่งน่าจะเป็นผ้าซิ่นไทยที่เรียกว่าอันลุยซีม (ซีม คือ สยาม) ดังนั้นจึงสามารถศึกษารายละเอียดของผลิตภัณฑ์ผ้าในจังหวัดสุรินทร์ได้โดยสรุปดังนี

การแต่งกายของชาย

ปกติจะนุ่งผ้าโจงกระเบน ซึ่งเป็นผ้าไหมที่เกิดจากการใช้เส้นไหม 3 เส้น มาตีเกลียวควบกันเพื่อให้สีเหลือบมาทอ ผ้านี้เรียกว่าผ้าควบ หรือผ้าไหมหางกระรอก ชาวบ้านเรียกผ้าชนิดนี้ว่า อันลูนกะนิว นอกจากนี้มีผ้าลายบำเพ็ญ กลายเป็นผ้าโฮลเป๊าะ คล้ายผ้าปูมที่มีลายท้องผ้าเป็นลายใหญ่และมีเชิงในตัวเป็นลายแฉกแหลม นางปุ่น เรียงเงิน ได้อธิบายว่าผ้าแบบนี้ ในเวลาทำบุญจะนำมาคลุมบายศรีด้วย ลายโจงแปลว่า ยอดบายศรี ผ้าอื่นๆ มีผ้าโสร่ง จะนุ่งอยู่บ้านและมีผ้าขาวม้า
"ผ้าไหมควบหรือผ้าหางกระรอก เขมรเรียก ผ้ากะทิว แต่งขอบผ้าด้านกว้างเป็นแนวเผินด้วยลายขิดเป็นลายกลีบบัวสลับลายอุบะ ของนางนา ทรายแก้ว บ้านนาแห้ว หมู่ 7 ตำบลสวาย อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์"


สำหรับผู้ชายที่เข้าพิธีบวช ขณะอยู่ในสภาวะเป็นนาค จะนุ่งผ้าโฮล แบบนุ่งซิ่นไม่นุ่งโจงกระเบ
ที่บ้านสวาย ตำบลสวาย ผู้ชายจะนุ่งผ้าโจงกระเบนใช้ผ้าหางกระรอกเช่นกัน แต่ไม่มีการทำเชิงที่ขอบผ้าถ้านุ่งผ้าโสร่งจะคาดผ้าขาวม้าหรือกนจะดอ คาดเอว หรือพาดไหล่
"การแต่งกายของผู้ชายส่วย ตามแบบเดิมปัจจุบันจะ แต่งเวลาประกอบพิธีกรรมคือนุ่งโจงกระเบนไหมควบ คล้องผ้าสไบ คาดไถ้เครื่องราง"
ที่บ้านนาแห้ว นางนา ทรายแก้ว อายุ 80 ปี ช่างทอผ้ามีชื่อ มีผ้าโฮลโบราณที่มีชื่อเสียงได้ให้นางเพียร สายแก้ว อายุ 37 ปี บุตรสาวนำออกให้ชม มีผ้ากะนิวหรือผ้าหางกระรอกที่มีขอบเป็นลายกลีบบัว ลายอุบะลายนี้มีลักษณะคล้ายลายสลักที่ขอบผนังปราสาทหิน ลายนี้เรียกว่า รือเจียร์หรือลายขิด นอกจากนี้ เวลาไปงาน สำคัญผู้ชายจะนุ่งผ้าสมปักไหม 3 ตะกอ แต่ไม่มีลายกรวยเชิงที่ขอบ
"ถุงไถ้...ทำด้วยผ้าขิดสำหรับใ่ส่เครื่องราง คาดเอวเวลาไปป่า"


ที่บ้านจันรม ผู้ชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ผ้าตาหม่อง หรือตาม่วง คาดผ้าขาวม้ายกขิด เรียกว่าสไบรือเจียร์
ที่บ้านจารพัท ผู้ชายนุ่งผ้าสมปรต (ซัมป๊วด) ลายกราซะไน (ลายแห) หรือนุ่งโสร่ง ลายตะแกรง ทอด้วยไหมตีเกลียว (กะนิว) 3 เส้นควบ เพื่อให้สีเหลือบ (ไหมควบหรือผ้าหางกระรอก) และมีผ้าขาวม้าหรือผ้าไส้สะเอียน เช่นเดียวกับบ้านอื่นๆ ที่มีเชื้อสายเขมร

"ผ้าไหมโฮล (ซิ่นหมี่คั่น)"
สำหรับผู้ชายที่เข้าพิธีบวช ขณะอยู่ในสภาวะเป็นนาค จะนุ่งผ้าโฮล แบบนุ่งซิ่นไม่นุ่งโจงกระเบ
ที่บ้านสวาย ตำบลสวาย ผู้ชายจะนุ่งผ้าโจงกระเบนใช้ผ้าหางกระรอกเช่นกัน แต่ไม่มีการทำเชิงที่ขอบผ้าถ้านุ่งผ้าโสร่งจะคาดผ้าขาวม้าหรือกนจะดอ คาดเอว หรือพาดไหล่
ที่บ้านนาแห้ว นางนา ทรายแก้ว อายุ 80 ปี ช่างทอผ้ามีชื่อ มีผ้าโฮลโบราณที่มีชื่อเสียงได้ให้นางเพียร สายแก้ว อายุ 37 ปี บุตรสาวนำออกให้ชม มีผ้ากะนิวหรือผ้าหางกระรอกที่มีขอบเป็นลายกลีบบัว ลายอุบะลายนี้มีลักษณะคล้ายลายสลักที่ขอบผนังปราสาทหิน ลายนี้เรียกว่า รือเจียร์หรือลายขิด นอกจากนี้ เวลาไปงาน สำคัญผู้ชายจะนุ่งผ้าสมปักไหม 3 ตะกอ แต่ไม่มีลายกรวยเชิงที่ขอบ
ที่บ้านจันรม ผู้ชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ผ้าตาหม่อง หรือตาม่วง คาดผ้าขาวม้ายกขิด เรียกว่าสไบรือเจียร์
ที่บ้านจารพัท ผู้ชายนุ่งผ้าสมปรต (ซัมป๊วด) ลายกราซะไน (ลายแห) หรือนุ่งโสร่ง ลายตะแกรง ทอด้วยไหมตีเกลียว (กะนิว) 3 เส้นควบ เพื่อให้สีเหลือบ (ไหมควบหรือผ้าหางกระรอก) และมีผ้าขาวม้าหรือผ้าไส้สะเอียน เช่นเดียวกับบ้านอื่นๆ ที่มีเชื้อสายเขมร
ผู้หญิง

ผู้หญิงจะมีผ้าซิ่นทอด้วยไหมที่มีลวดลายต่างๆ หลายแบบ ที่นิยมมากคือซิ่นโฮลหรือหมี่คั่นใช้เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น เป็นผ้ามัดหมี่ที่เป็นลายทางยาวเล็กๆ เป็นการเลียนแบบลายน้ำไหล (โฮลแปลว่าน้ำไหล) ผ้าซิ่นจะมีการต่อเชิงหรือตีนเพื่อให้ได้ความยาวที่พอเหมาะกับผู้นุ่งเพราะตัวซิ่นนั้นหน้าฟืมที่ทอมีขนาดแคบตีนซิ่นเรียกว่า ผ้าปะโปลทอเป็นลายตะสีบอ๊อดหรือลายคลื่น นอกจากซิ่นแล้วผู้หญิงจะห่มผ้าสไบทอยกดอกลายลูกแก้วมีทั้งสีขาวและสีดำ

"ซิ่นหมี่คั่น ลายใบมะพร้าวของกลุ่มไทยเชื้อสายเขมร บ้านนาแห้ว ตำบลสวาย อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์"
ที่บ้านเขวาสินรินทร์ ผู้หญิงมีผ้าซิ่นที่ทอใช้ได้แก่ หมี่โฮลหรือหมี่คั่น ซึ่งมีริ้วเป็นลายเฉียงๆเรียกว่า หนังโป หรือลายคำอ้อย แต่ถ้าเป็นลายริ้วทางยาวๆ ธรรมดา ประเภทหมี่เข็น ที่นี่เรียกว่า อันลุยซีม คือ ผ้าลายริ้วแบบสยาม ซึ่งอันลุยซีมนี้น่าจะเป็นต้นแบบของผ้าโฮลซึ่งชาวเขมรรับไปจากแบบผ้าซิ่นหมี่เข็นหรือหมี่คั่นของไทย เพราะลายผ้าแบบเขมรของชาวบ้านนั้นไม่มีลาย นอกจากลายริ้วเป็นทางยาวๆ และเปลี่ยนลายตามริ้วบ้างเล็กน้อยด้วยการขยายลายทางให้กว้างขึ้นเท่านั้น แต่องค์ประกอบทั่วไปยังอยู่ในแนวยาวนอกจากนี้มีผ้าทอเป็นลายตาตารางเล็กๆ แบบต่างๆ เช่น ผ้าสาคู ผ้าอันปรม ผ้าสมอ ผ้าละเบิกซึ่งยกลายสี่เหลี่ยมเป็นจุดเล็กๆ ลายเก๊าะหรือลายขอ ส่วนผ้ามัดหมี่หรือผ้าโฮลเปร๊าะ มีลายสัตว์เช่นนกยูง ช้าง นาคมักนิยมลายนาค 2 หัว ที่มีหางไขว้ตรงกลาง นอกจากนั้นมีลาย ต้นไม้ ไก่ นก ม้าบินและผีเสื้อ ลายต้นไม้นิยมลายต้นสน

Official Website : http://www.thaitextilemuseum.com/HOME/NaNa/TextileSurin/textilesurin.html

เสนห์ผ้าทอไทย ตอนที่ 1 เรื่องผ้าคราม จังหวัดสกลนคร




ดูสิลายสวยงาม น่าใช้มากรวมไปถึงสรรพคุณต่างๆ
“ผ้าคราม” ได้รับฉายาว่าเป็นราชาแห่งผ้าย้อมสีธรรมชาติ ด้วยคุณสมบัติสีน้ำเงินสดใส ซึ่งการย้อมมีความละเอียดอ่อน เป็นเทคนิคซับซ้อนสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่ามนุษย์มีการย้อมครามมากว่า 6,000 ปี แพร่หลายทั่วทุกมุมโลกตั้งแต่แถบทวีปเอเชีย แอฟริกา ยุโรป เรื่อยไปถึงอเมริกา
ทว่า เมื่อเวลาผ่านไป ประเทศต่างๆ หันไปใช้สีสงเคราะห์ที่สะดวกกว่าทดแทน จนการใช้สีย้อมคราม ค่อยๆ ลดลงในปี 2457 เหลือการผลิตเพียงร้อยละ 4 ของทั่วโลก ส่วนใหญ่อยู่ในแถบอาเซียน โดยเฉพาะ จ.สกลนคร และใกล้เคียงในภาคอีสานของไทย หลงเหลือผู้ผลิตผ้าย้อมครามมากที่สุดในโลก

อันนี้เป็นต้นครามที่สกลนครค่ะ
ความมหัศจรรย์ของสีคราม จนได้ฉายาว่า “ราชาแห่งผ้าย้อมสีธรรมชาติ” คือ ความแปลกที่ใบไม้เขียวๆ ให้สีน้ำเงินได้อย่างไร จากการค้นคว้าพบว่า น้ำย้อมครามเกิดจากสีที่สกัดจากใบคราม อายุ 3-4 เดือน มีวิธีทำโดยนำกิ่ง ก้าน ใบ ในสภาพสดมามัดเป็นฟ่อน แช่ในน้ำ 18-24 ชั่วโมง จึงแยกกากครามออก เติมปูนขาวในน้ำครามและกวน 15 นาที พักไว้ 1 คืน แยกเนื้อครามที่ตกตะกอนและนำไปผสมน้ำขี้เถ้า เพื่อเตรียมน้ำย้อม เมื่อเกิดสีคราม จึงย้อมเส้นทอ และทำซ้ำๆ กัน โดยผ้าย้อมครามจะมีคุณสมบัติ สีไม่ตก ป้องกันแสง UV ช่วยอบผิวให้ขาวเนียน ป้องกันยุงกัด ยิ่งซักเนื้อผ้าจะยิ่งสวยงาม เป็นต้น

ผลิดออกมาเป็นพวกตกแต่งก็ไม่เลว Trend นี้ฝรั่งชอบชัวร์ แต่บ้านในอนาคตต้องใช้แน่เล

สวยมีเสนห์บอกไม่ถูก นี่แหละเสนห์ของผ้าไทยจากสกลนคร